วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชนิดและการแยกประเภทของผีเสื้อ

ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน


 ผีเสื้อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน หากดูเพียงผิวเผิน จะเห็นว่าทั้งผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืน ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย แต่ในทางอนุกรมวิธานผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืนอยู่ในอันดับย่อย(suborder) ต่างกัน คือ อันดับย่อย ผีเสื้อกลางวัน (butterfly) และอันดับย่อยผีเสื้อกลางคืน(moth) หรือที่เราเรียกว่าแมลงมอธ ในจำนวนผีเสื้อนับแสนชนิดในโลกนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นผีเสื้อกลางคืน มีผีเสื้อกลางวันประมาณ 10 % ของผีเสื้อทั้งหมด แต่ด้วยสีสรรอันสวยงาม และสดุดตา และโอกาสที่พบเห็นได้ง่าย ในเวลากลางวัน ผีเสื้อกลางวันจึงเป็นที่รู้จักมากกว่า ในการที่จะชี้ชัดลงไปว่าเป็นผีเสื้อกลางวัน หรือผีเสื้อกลางคืนนั้น จะต้องใช้หลักเกณฑ์หลาย ๆอย่างประกอบการพิจารณา หากจะให้ละเอียดลงไป ต้องอาศัยลักษณะทางกายวิภาค และพฤติกรรมอื่น ๆ มาประกอบด้วย
ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนมีความแตกต่างกันหลายประการ ลักษณะสำคัญที่พอจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือ
1. หนวด
ผีเสื้อกลางวันจะมีปลายหนวดพองโตออกคล้ายกระบอง บางพวกมีปลายหนวดโค้งงอเป็นตะขอ เวลาเกาะจะชู หนวดขึ้นเป็นรูปตัววี (V) ส่วนผีเสื้อกลางคืนมีหนวดรูปร่างต่างกันหลายแบบ เช่น รูปเรียวคล้ายเส้นด้าย รูปฟันหวี หรือแบบพู่ขนนก เวลาเกาะพักจะวางแนบไปกับขอบปีกคู่หน้า แต่บางชนิดก็มีลัษณะคล้ายผีเสื้อกลางวัน


2 ลำตัว
ผีเสื้อกลางวันมีลำตัวค่อนข้างยาวเรียวเมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างของปีกไม่มีขนปกคลุม หรือมีเพียงบาง ๆ เห็นไม่ชัดเจน ในขณะที่ผีเสื้อกลางคืน มีลำตัวอ้วนสั้น มีขนปกคลุมมากและเป็นเส้นยาวเห็นได้ชัดเจน
3. การออกหากิน
สวยงาผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางวันแต่มีบางชนิดออกหากินในเวลาเช้ามืดและเวลาใกล้ค่ำ ในขณะที่ผีเสื้อกลางคืน ออกหากินในเวลากลางคืน ดังที่เราพบเห็นบินมาเล่นแสงไฟ ตามบ้านเรื่อนแต่ก็มีบางชนิดที่ออกหากินกลางวัน เช่น ผีเสื้อทองเฉียงพร้า ซึ่งจะมีสีสันฉูดฉาดม ไม่แพ้ผีเสื้อกลางวัน
4. การเกาะพัก
ผีเสื้อกลางวันขณะเกาะพักมักจะหุบปีกขึ้นตั้งตรง ยกเว้นกรณีที่ปีกเปียกฝนอาจกางปีกออกผึ่งแดด แต่ก็มีผีเสื้อบางชนิด ที่กางปีกตลอดเวลา เช่น ผีเสื้อในสกุลผีเสื้อกะลาสี ส่วนผีเสื้อกลางคืน จะกางปีกออกแนบกับพื้นที่เกาะ ขอบปีกด้านหน้า จะอยู่ข้างลำตัวต่ำกว่าระดับของหลังเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือคล้ายกระโจม และคลุมปีกคู่หลังจนมิด ผีเสื้อกลางวัน เวลาเกาะ ตั้งปีกขึ้น
5. ปีก
โดยทั่วไปผีเสื้อกลางวันจะมีปีกกว้างเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัวยกเว้นผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อกลางคืนจะมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับลำตัว แต่ก็มีบางชนิดที่ปีกมีขนาดใหญ่มาก ๆ เช่นผีเสื้อหนอนกะท้อน
6. การเชื่อมติดของปีก
ๆ ที่โคนปีกด้านใต้ขอเพื่อให้ปีกกระพือไปพร้อมกันเวลาบินของผีเสื้อกลางวันปีกคู่หลังจะขยายกว้างยื่นเข้าไปซ้อนทับและแนบสนิทอยู่ใต้ปีกคู่หน้า แต่ในผีเสื้อกลางคืนจะมีขนแข็งจากปีกคู่หลัง

พฤติกรรมแปลกๆของผีเสื้อ

ผีเสื้อเมา (Drunk butterfly )
คุณทราบไหมว่า ผีเสื้อเมาได้ เมื่อมันกินผลไม้ หรือน้ำหวานที่มี แอลกอฮอล์ ผสมอยู่ มันก็จะเกิดอาการบินแปลก ๆ หรือเราเรียกได้ว่ามันเมา
หวงถิ่น
คุณทราบไหมว่า ผีเสื้อบางชนิดหวงถิ่นมาก มันจะขับไลแมลงตัวอื่น ๆ หรือแม้กระทั้ง นก ก็ตาม และดูเหมือนว่ามันจะประสบความสำเร็จเสียด้วย
มันกินอาหารที่ไม่น่ากินได้
คุณทราบไหมว่า ผีเสื้อกลางคืนบางชนิด กินของแหลวในตา กวาง วัวหรือแม้กระทั้งช้าง และผีเสื้อกลางคืนของเอเซียบางชนิดสามารถเจาะผิวหนังของสัตว์ เพื่อดืมเลือดของสัตว์
มันจำทางกลับบ้านของมันได้เสมอ
ในการออกไปหาอาหารในแหล่งใหม่ หนอนผีเสื้อ Tent (Malacosoma americanum) มันจะทำเครื่องหมายเพื่อที่มันจะกลับรังมันได้ถูก
ผีสื้อบางชนิดอาศัยอยู่ใต้น้ำ
หนอนผีเสื้อ Shout moths (Pyralisisae) อาศัยอยู่บนพืชน้ำ มันพัฒนาระบบบการหายใจ เป็น 2 ทาง มันจะม้วนใบไม้และเข้าไปอยู่ในนั้นโดยมีช่องให้อากาศเข้า อีกทางหนึ่งที่มันสร้างขี้นเพื่อที่จะทำให้มันหายใจได้ก็คือ การพัฒนาเหงือกชนิดหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้ในการหายใจ ผีเสื้อโตเต็มวัยชนิด (Aquatic moth (Acentropus niveus) มีการฟักไข่ใต้น้ำ ไข่ของมันจะถูกปกคลุมด้วยไขมัน เพื่อไม่ให้สัมผัสกับน้ำ

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชีวิตของผีเสื้อ

ผีเสื้อแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน  บางชนิดมีอายุเพียง 1 เดือน บางชนิดมีอายุถึง 1 ปี หน้าที่หลักของผีเสื้อในระยะที่เป็นตัวเต็มวัยคือการผสมพันธุ์เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมันก็จะออกหาคู่เพื่อผสมพันธ์  และขณะเดียวกันก็จะออกหาอาหารด้วย  อาหารของผีเสื้อก็คือของเหลวที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ เช่นน้ำหวานจากดอกไม้  น้ำตามพื้นดินพื้นทราย  ส่วนใหญ่แล้วผีเสื้อเพศผู้มักจะลงหากินตามที่ชื้นแฉะริมห้วย  ตามโป่งดิน ผลไม้เน่า มูลสัตว์  ส่วนผีเสื้อเพศเมียมักจะหากินน้ำหวานจากดอกไม้  ปกติผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียจะหากินในอาณาบริเวณเดียวกัน  แต่บางครั้งพบว่ามันหากินไกลกัน
ในเช้าวันที่อากาศดี ผีเสื้อจะออกมาผึ่งแดดเพื่ออบอุ่นร่างกาย  และจะออกหากินในช่วงเวลาประมาณ แปดโมงเช้าถึงสิบโมงเช้าพอถึงเวลากลางวันที่อากาศร้อน  ผีเสื้อจะหลบพักตามที่ร่มไม้  และเริ่มออกหากินอีกครั้งในช่วงบ่ายประมาณสามโมงถึงห้าโมงเย็น  ถ้าฝนตกผีเสื้อจะหลบตามใต้ใบไม้  และออกหากินหลังฝนหยุดตก ในวันที่ฟ้าครึ้ม มีเมฆมาก อากาศมีความชื้นสูง  ผีเสื้อมักจะไม่ค่อยออกบินหากิน อย่างไรก็ตามมีผีเสื้อบางชนิดที่ออกหากินในตอนเช้ามืดหรือใกล้ค่ำ
ในตอนกลางคืนผีเสื้อที่ออกหากินในตอนกลางวันก็จะพักนิ่ง ๆ ตามใบไม้  ส่วนผีเสื้อกลางคืนก็จะออกหากินสลับกัน
ดอกไม้กับผีเสื้อ
ดอกไม้สำหรับผีเสื้อกลางคืนมักมีสีอ่อน ลักษณะเป็นท่อยาวและเล็ก  ไม่มีที่ให้เกาะ  มีน้ำหวานอยู่ลึกลงไปในดอกไม้  และบานส่งกลิ่นหอมในตอนกลางคืน  ส่วนดอกไม้สำหรับผีเสื้อกลางวันมักมีสีสด หลายชนิดมีสีแดง  โดยมากมักมีขนาดเล็กกว่าดอกไม้สำหรับผีเสื้อกลางคืน  แต่จับกลุ่มกันเป็นดอกรวมให้ผีเสื้อเกาะได้
ผีเสื้อและแมลงต่าง ๆ มองเห็นสีสันของดอกไม้แตกต่างไปจากที่คนเรามองเห็น  ทั้งนี้เพราะมันสามารถมองเห็นแสงในย่านอัลตราไวโอเลต เมื่อฉายด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ไปบนดอกไม้ที่เรามองเห็นว่าเป็นสีเรียบ ๆ  แมลงจะเห็นว่าบนกลีบดอกมีเส้นสีเข้มมากมาย  เส้นสีเข้มนี้เรียกว่า nectar  guide   ซึ่งจะชี้นำให้แมลงเข้าไปหาน้ำหวานที่อยู่กลางดอก

การป้องกันตัวของผีเสื้อ

ผีเสื้อเป็นเพียงแมลงตัวเล็ก ๆ  โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่กว่าจึงมีอยู่มาก  ขณะที่ยังอยู่ในระยะของไข่และตัวหนอนนับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด  โอกาสที่จะรอดชีวิตมาเป็นตัวเต็มวัยจึงมีอยู่น้อยมาก  เมื่อเจริญเป็นตัวที่สมบูรณ์แล้วผีเสื้อจึงต้องพยายามเอาชนะศัตรูรอบ ๆ ข้างให้ตัวเองได้มีชีวิตต่อไป
การออกหากินตอนเช้ามืดหรือตอนใกล้ค่ำของผีเสื้อหลายชนิด เพื่อให้รอดพ้นจากพวกนกต่าง ๆ ที่ออกหากินตอนกลางวัน  ทั้งยังปรับสีสันของปีกให้มีสีค่อนข้างทึบ บางชนิดมีลักษณะเหมือนผีเสื้อกลางคืนไปเลย  เช่น ผีเสื้อสายัณห์สีตาล  ผีเสื้อป่า  ผีเสื้อบินเร็วหลายชนิด
ผีเสื้อบางชนิด เช่น ผีเสื้อหางติ่ง  ผีเสื้อแถบขาว  ผีเสื้อหนอนมะนาว  ผีเสื้อตาลหนาม  และผีเสื้อเจ้าชายเขียว  สามารถบินได้เร็วทำให้ศัตรูไม่สามารถจับได้ทัน  บางชนิดบินร่อนไปช้า ๆ นาน ๆ จะกระพือปีกสักครั้ง  และมีลวดลายบนปีกที่สังเกตได้ยาก  เช่นผีเสื้อลายหินอ่อน  ผีเสื้อกะลาสี  ผีเสื้อร่อนลม  ผีเสื้อจรกา
ผีเสื้อหลายชนิดทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ มีสีสันลวดลายของปีกกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม เช่นผีเสื้อแพนซีมยุรา  ผีเสื้อสายัณห์ตาลบางชนิด  มักเกาะกิ่งไม้หรือต้นไม้ทอดไปตามแนวดิ่ง   ผีเสื้อที่อาศัยตามไม้พุ่มหนาทึบมักมีสีค่อนข้างทึบ เช่นสีน้ำตาล  สีน้ำเงิน หรือสีดำ และมักมีจุดสีอ่อนหรือสีขาวซึ่งมองดูคลัายกับแสงที่ลอดผ่านพุ่มไม้มายังพื้น เช่น ผีเสื้อกะลาสี  ผีเสื้อแถบขาว  ผีเสื้อเจ้าชายม่วง
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงินมีติ่งหางยื่นยาวออกมาบริเวณปลายปีกคู่หลัง และมีจุดสีดำตรงโดนติ่ง  ทำให้มองดูคล้ายหัวและหนวดเวลาเกาะมักชูท้ายขึ้นเพื่อให้ส่วนหางที่มองดูคล้ายหัวอยู่สูง  เพื่อลวงให้ศัตรูเข้าใจผิด  ทำให้ศัตรูจู่โจมผิดเป้าหมาย
ผีเสื้อที่ไม่มีพิษบางชนิดเลียนแบบสีสัน  ลวดลายของปีกและนิสัยการบินให้ใกล้เคียงกับพวกที่มีพิษ เพื่อหลอกให้ศัตรูไม่กินมัน การเลียนแบบมักจะเลียนแบบเฉพาะลวดลายปีกด้านบน  การเลียนแบบทั้งด้านบนและด้านล่างของปีกมีน้อยมาก 

วิวัฒนาการของผีเสื้อ

 ชีวิตการเจริญเติบโตของผีเสื้อเป็นการเจริญเติบโตแบบ ครบ ๔ ขั้น (complete metamorphosis) เหมือนที่พบ ในพวกด้วง ผึ้ง และแมลงวัน โดยแยกออกเป็นระยะไข่ ระยะ ตัวหนอนระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย ข้อดีของการเจริญ เติบโตแบบนี้คือ การที่ตัวหนอนและตัวเต็มวัยกินอาหารกันคน ละอย่าง ไม่มีปัญหาการแก่งแย่งอาหาร ทั้งยังอาศัยอยู่กันคนละ ที่ มีโอกาสรอดจากศัตรูธรรมชาติได้มากกว่าเมื่ออยู่รวมกัน สิ่ง ที่สำคัญที่สุดคือ ในบางระยะ เช่น ระยะไข่และระยะดักแด้มีความ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย และการขาดแคลนอาหาร ทำให้ผีเสื้อคงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ตลอดมา
 ระยะไข่
          หลังจากผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้แล้วสัก ระยะหนึ่ง ไข่ที่มีอยู่จะได้รับการผสมพร้อมที่จะวางไข่ออก มา ตัวเมียจะเสาะหาพืชอาหารที่เหมาะสมกับตัวหนอน โดย การเกาะลงบริเวณใบพืช ทดสอบโดยการแตะด้วยปลายท้อง ถ้าไม่ใช่พืชที่ต้องการ ก็จะบินไปเรื่อยๆ จนพบ เมื่อพบแล้ว จะค่อยๆ ยืดส่วนท้องลงวางไข่ไว้ใต้ใบ แต่บางชนิดวางไข่ ทางด้านหลังใบ ส่วนมากจะวางไข่ฟองเดียว พวกผีเสื้อตัว หนอนกินใบหญ้าจะปล่อยไข่ลงสู่ป่าหญ้าเลย ผีเสื้อกลางคืน ที่วางไข่เป็นกลุ่ม บางครั้งมีขนจากลำตัวปกคลุมเอาไว้
 ระยะตัวหนอน                 
          ตัวหนอนของผีเสื้อมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามวงศ์ และสกุล ส่วนมากไม่มีขนปกคลุมเหมือนหนอนของผีเสื้อ กลางคืน ตัวหนอนมีสีสด หรือสีสันกลมกลืนไปกับพืชอาหาร อาหารมื้อแรกของตัวหนอนหลังจากฟักออกจากไข่ คือ เปลือก ไข่ที่เหลืออยู่ อาจเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอย หรือในเปลือกไข่มี สารบางอย่างที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เมื่อออกมาใหม่ๆ มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และลอกกินผิวใบพืชจนเกิดเป็นช่องใส ต่อมาจะค่อยๆ กระจายกันออกไป การกัดกินมักกินจากขอบใบ เข้ามาหากลางใบ การลอกคราบ
          หนอนจะเติบโตขึ้นได้ต้องมีการลอกคราบหลายครั้ง ส่วน มากผีเสื้อจะลอกคราบประมาณ ๔-๕ ครั้ง เหตุที่ต้องลอกคราบ เนื่องจากตัวหนอนมีผนังลำตัวหุ้มห่ออยู่ภายนอก เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะเติบโตคับผนังลำตัวที่ห่ออยู่ กรรมวิธีในการลอก คราบจะเริ่มเมื่อหนอนชักใยยึดลำตัวไว้กับพื้นที่เกาะ ก่อนการ ลอกคราบราว ๒๔ ชั่วโมง ต่อมาผนังลำตัวจะปริแตกออก ทางด้านหลังของหัว หนอนจะค่อยๆ คืบไปข้างหน้าอย่างช้าๆ จนหลุดออกจากคราบ ผนังลำตัวใหม่มีสีสดใสกว่าเก่า ตัวหนอน จะดูมีหัวโตกว่าส่วนลำตัว ระยะแรก มันจะอยู่นิ่งราว ๒-๓ ชั่วโมง จนกระทั่งผนังลำตัวและส่วนปากแข็งพอที่จะกัดใบพืช อาหารได้ ระยะนี้เป็นระยะที่อันตรายต่อตัวหนอนมาก
 ระยะดักแด
          เมื่อหนอนลอกคราบจนครบ และเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุด กินอาหาร หาที่หลบซ่อนตัวพักอยู่อย่างนั้นสัก ๑๒ ชั่วโมง หรืออาจนานกว่า ระหว่างนี้จะสร้างแผ่นไหมเล็กๆที่ปลายลำตัว เพื่อใช้ขอเล็กๆ เกี่ยวเอาไว้ให้มั่นคง ก่อนลอกคราบครั้งสุดท้าย เป็นดักแด้
ระยะตัวเต็มวัย

          พอดักแด้มีอายุประมาณ ๗-๑๐ วัน เมื่อใกล้จะออกมา เป็นผีเสื้อ เราจะเห็นสีของปีกผ่านทางผนังลำตัวได้ ผีเสื้อที่โตเต็มที่แล้ว จะใช้ขาดันเอาเปลือกดักแด้ให้แตกออก แล้วดันให้ ปริออกทางด้านหลังของส่วนอก ค่อยๆขยับตัวออกมาจนพ้น คราบดักแด้ ส่วนมากมักออกมาโดยการห้อยหัวลง เพื่อใช้แรง ดึงดูดของโลกช่วย ตอนออกมาใหม่ๆ ผีเสื้อมีส่วนท้องใหญ่ และปีกยู่ยี่เล็กนิดเดียว มันจะคลานไปหาที่เกาะยึด แล้วห้อยปีก ทั้งสองลงข้างล่าง ระหว่างนี้มันจะปล่อยของเหลวสีชมพูอ่อน ทางปลายส่วนท้อง สารนี้เป็นของเสียที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็น ดักแด้เรียกว่า มิวโคเนียม (muconium) ผีเสื้อจะดูดเอาอากาศ จำนวนมากเข้าไปทางงวงและรูหายใจ แรงดันของอากาศและ การหดตัวของกล้ามเนื้อ จะอัดดันให้เลือดไหลไปตามเส้นปีก ปีกจึงขยายออกจนโตเต็มที่ การขยายปีกออกนี้กินเวลาประมาณ ๒๐ นาที มันต้องผึ่งปีกให้แห้งแข็งดีเสียก่อนราวชั่วโมงครึ่ง จึงจะออกบินไปหากินต่อไป

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การดูผีเสื้อ

      การดูผีเสื้อ
   ผีเสื้อสามารถที่จะใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สถาพของป่าได้อย่างดี
โดยผีเสื้อเเละพรรณไม้จะดำรงอยู่ด้วยความสัมพันธ์กัน หาก
พื้นที่ใดพบชนิดของผีเสื้อมาก   ย่อมเเสดงถึงสถาพป่าเเละ
พันธุ์พืชมีความหลากหลาย หรือการพบผีเสื้อบางชนิด เช่น
ผีเสื้อในระยะตัวหนอนกินหญ้า ย่อมเเสดงว่าพื้นที่นั้นไดถูก
เเปรสถาพไปเพื่อทำการเกษตร หรือปล่อยทิ้งร้างกลายเป็น
ทุ่งหญ้าเป็นต้น ในขณะเดียวกันการบุกรุกทำลายป่าเป็นการ
ทำลายเเหล่งที่อยู่อาศัย เเละเเหล่งอาหารของผีเสื้อ ทำให้
ผีเสื้อบางชนิดลดลงจนอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ หรือบาง
ชนิดได้สูญพันธุ์ไปเเล้ว การอนุรักษ์ผีเสื้อนอกจากมาตราการ
ทางกฏหมาย คือการประกาศพื้นที่เป็นอุทยานเเห่งชาติ เขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือการกำหนดให้เเมลงซึ่งรวมทั้ง ผีเสื้อ
เป็น สัตว์ป่าคุ้มครองก็เป็นมาตราการหนึ่งที่ได้ผลเเต่หากเรา
ทุกคนมีส่วนร่วมด้วย การไม่ซื้อ ไม่ขาย เเละไม่สะสม ก็เป็น ทางหนึ่งที่ช่วยได้เเต่มีอีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทั้งผีเสื้อ

ผีเสื้อชนิดต่างๆ

1. วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Family Papilionidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้ส่วนมากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายปีกคู่หลังจะมีส่วนยื่นยาวออกมา คล้ายหางหรือติ่ง แต่บางชนิดก็ไม่มี ปกติเพศผู้ชอบลงกินอาหาร และน้ำ ตามพื้นดิน หรือทรายที่ชื้นแฉะซึ่งมีมูลสัตว์หรือ ปัสสาวะปะปน ส่วนเพศเมียมักหากิน ตามยอดไม้ใน ระดับสูง ผีเสื้อวงศ์นี้พบชุกชมมากในประเทศเขตร้อน ในการสำรวจครั้งนี้พบ จำนวน 18 ชนิด
2. วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ (Family Pieridae)
 ผีเสื้อในวงศ์นี้ ถ้าแบ่งตามสีจะมี 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่มีปีกสีเหลือง และสีขาว มักพบลงกินอาหารตามพื้นดินทราย พร้อม ๆ กันเป็นกลุ่มใหญ่ พบมากใน ประเทศเขตร้อน ในการสำรวจครั้งนี้พบจำนวน 12 ชนิด
 3. วงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก (Family Danaidae)
 ผีเสื้อในวงศ์นี้เป็นชนิดที่มีพิษในตัว โดยได้รับพิษจากพืชอาหารที่ตัวหนอนกินเข้าไป บางครั้งอาจเรียกผีเสื้อวงศ์นี้ว่า ผีเสื้อลายเสือ ตามลักษณะสีสันของตัวหนอน และผีเสื้อบางชนิดที่มี ลายคล้ายลายเสือ ตัวหนอนกินพืชจำพวก ที่มียางสีขาว หรือยางใสเหนียวเป็นอาหาร เช่น มะเดื่อ รัก เพศผู้ มีแถบสีเข้มกลางปีกคู่หลัง เพศเมีย จะไม่มีแถบสีที่กลาง ปีกคู่หลัง จึงสามารถใช้แถบเป็นที่ สังเกตบอกเพศได้ ในการสำรวจครั้งนี้พบจำนวน 8 ชนิด
4. วงศ์ผีเสื้อสีตาล (Family Satyridae)
 ผีเสื้อในวงศ์นี้ส่วนมากมีสีน้ำตาลเข้ม และมีจุดคล้ายดวงตาบนแผ่นปีก มักพบหากินในที่ร่ม เงาไม้ พบชุกชุมในเขตอบอุ่น ทั่วโลก เชื่อว่ามีแหล่ง กำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ในการสำรวจ ครั้งนี้พบจำนวน 7 ชนิด
5. วงศ์ผีเสื้อป่า (Family Amathusiidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและหากินตามบริเวณที่เป็นร่มทึบ พบได้ในทวีปเอเชีย จนถึงออสเตเรีย ในการสำรวจ ครั้งนี้พบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น (ตารางที่ 1)
6. วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Family Nymphalidae)
ผีเสื้อวงศ์นี้พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยจะมีขาคู่หน้าที่หดสั้นลงจนดูคล้ายกระจุกพู่ขน ไม่สามารถใช้เกาะ หรือเดินได้ ทำให้มองเห็นเพียง 4 ขาเท่านั้น ตัวหนอนของผีเสื้อวงศ์นี้มีขนแหลมๆอยู่ทั่วตัว ผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบออก หากินในที่โล่ง มีแสงแดดจัด ในการสำรวจครั้งนี้พบจำนวน 32 ชนิด
7. วงศ์ผีเสื้อหัวแหลม (Family Libytheidae)
ผีเสื้อวงศ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวมี ระยางค์ปาก (labial palps) ยื่นแหลมออกมาคล้าย มีหัวแหลม ปลายปีก คู่หน้าโค้งออก ตัดเป็นรูปมุมฉาก บางครั้งก็เรียกว่า ผีเสื้อจมูกแหลม ในประเทศไทย พบเพียง 4 ชนิด เท่านั้น ในการสำรวจครั้งนี้พบเพียง ชนิดเดียวเท่านั้น

8. วงศ์ผีเสื้อปีกกึ่งหุบ (Family Riodinidae)
ผีเสื้อวงศ์นี้จะมีขาคู่หน้าของเพศผู้ ที่มีลักษณะ คล้ายกับผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ คือ ส่วนปลายขาเสื่อมหายไป เหลือเพียงโคนขา และเพศเมียมีขาครบ ส่วนมากผีเสื้อปีกกึ่งหุบ เวลาที่เกาะกับ พื้นดินมักจะ กางปีก ออกเป็นรูปตัว V ในการสำรวจครั้งนี้พบจำนวน 3 ชนิด

9. วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Family Lycaenidae)
ผีเสื้อวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก บางชนิด มีขนาดปีกกว้างไม่ถึง 15 มิลลิเมตร ปีกด้านบน มีสีฟ้าหรือน้ำเงินอมม่วง ในระยะตัวหนอนจะกิน พืชตระกูลถั่วเป็นอาหาร ในการสำรวจครั้งนี้พบ จำนวน 12 ชนิด
10. วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Family Hesperiidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายกับผีเสื้อกลางคืน คือ มีปีกสั้น ลำตัวค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบ กับขนาดปีก ส่วนใหญ่ปีกมี สีน้ำตาลเข้ม แต่เนื่องจาก ผีเสื้อในวงศ์นี้ มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างผีเสื้อ กลางวันและผีเสื้อกลางคืน นักอนุกรมวิธาน บางท่าน จึงจัดผีเสื้อบินเร็วอยู่ในกลุ่มต่างหาก ในการสำรวจ ครั้งนี้ พบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น